เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 19.00 น.
หมดปัญหา โฆษณาเฟสบุ๊ค (Facebook) ไม่ผ่าน !
ทุกคนต่างก็อยากให้ โฆษณาเฟสบุ๊ค (Facebook) ของตัวเองได้รับการอนุมัติแบบไร้ปัญหา พร้อมเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว เคล็ดลับที่แสนง่ายคือ การตรวจสอบโฆษณาให้ถูกต้องตามนโยบายที่เฟสบุ๊คกำหนด อาจจะมีรายละเอียดที่ต้องให้ความสนใจมากหน่อย แต่ก็คุ้มค่าที่จะใส่ใจ เพราะจะประหยัดเวลาได้มากเลยทีเดียว
เพื่อให้การลงโฆษณาเฟสบุ๊ค ราบรื่นผ่านไปด้วยดีนั้น มีข้อกำหนดมากมายที่เราควรระมัดระวัง โดยสามารถจำพวกเป็นหัวข้อหลักให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ดังต่อไปนี้
ภาพรวมของโฆษณา
การตรวจสอบภาพรวมของโฆษณาจะดูจากความเกี่ยวข้องกันขององค์ประกอบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อโฆษณา ข้อความ รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอที่ต้องสื่อสารไปในทางเดียวกันและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หรือบริการก
โฆษณาเฟสบุ๊ค ต้องนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน โฆษณาที่เผยแพร่ออกไปต้องมีเนื้อหาตรงกับชื่อแบรนด์ และผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ระบุไว้ในหน้าเริ่มต้นหลัก ในกรณีที่มีเว็บไซต์ เนื้อหาก็ควรเป็นเรื่องเดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน
กลุ่มเป้าหมายก็มีความสำคัญเช่นกัน การเลือกต้องคำนึงถึงอายุ ที่ตั้ง ภาษา และลักษณะความสนใจของกลุ่มเป้าหมายว่าเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราหรือไม่
ข้อความบนรูปภาพ
ปัญหาที่มักจะทำให้ โฆษณาเฟสบุ๊ค ไม่ผ่านการอนุมัติคือ มีข้อความบนรูปภาพเกิน 20% โดยจะนับจากจำนวนข้อความ รวมถึงโลโก้และลายน้ำที่มีการเพิ่มเข้าไป ส่วนข้อความที่มาพร้อมรูปภาพ อย่างข้อความบนตัวผลิตภัณฑ์จะไม่นับรวมอยู่ใน 20% นี้ เราสามารถใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า “เครื่องมือตาราง” เพื่อตรวจสอบจำนวนข้อความบนรูปภาพได้
นอกจากข้อความบนรูปภาพแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความละเอียดของภาพ ตำแหน่งการจัดวาง และขนาดของรูปภาพด้วย ทั้งนี้ไม่ควรใช้รูปภาพตัดปะในการโฆษณาแต่สามารถปรับแต่งรูปด้วยแอพพลิเคชั่นหรือฟิลเตอร์ได้ตามปกติ
รูปภาพเป็นองค์ประกอบที่ได้รับความสนใจจากเฟสบุ๊คเป็นอย่างมากดังนั้นก่อนลงโฆษณาควรตรวจสอบคุณภาพและความน่าสนใจของรูปภาพให้ดี
เนื้อหาที่ไม่ควรปล่อยผ่าน
ข้อกำหนดเกี่ยวกับ Content หรือเนื้อหาทุกรูปแบบที่ใช้ในการโฆษณาจะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก เพื่อป้องกันการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ไม่ปลอดภัย และผิดกฎหมาย เมื่อนำมาสรุปเป็นหัวข้อจะสามารถแบ่งเนื้อหาที่ไม่ควรนำเสนอผ่านโฆษณาเฟสบุ๊คได้ดังนี้
1. เนื้อหาที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น ความเป็นส่วนตัว เครื่องหมายทางการค้า รวมถึงการอ้างอิงและการใช้โลโก้ของเฟสบุ๊คด้วย
2. เนื้อหาที่ส่อไปทางเพศ เช่น ภาพที่มีท่าทางโจ่งแจ้งหรือข้อความที่ชี้แนะไปทางเพศ ทั้งนี้แม้จะมีเหตุผลเพื่อการศึกษาหรือศิลปะก็ไม่สามารถนำเสนอได้ในทุกกรณี
3. เนื้อหาที่หลอกลวง เช่น การใช้ภาพ Before & After และการนำเสนอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือเกินจริง
4. เนื้อหาที่แสดงถึงความรุนแรง เช่น การนำเสนอรูปภาพที่น่ากลัวและสะเทือนอารมณ์ รวมถึงการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพหยาบคาย ส่งผลให้เกิดการตอบสนองในทางที่ไม่ดี
5. เนื้อหาที่แสดงลักษณะความเป็นส่วนตัว เช่น ความเชื่อส่วนบุคคล ศาสนา เชื้อชาติและชาติพันธุ์ หรือรสนิยมทางเพศก็ไม่ควรนำเสนอเช่นกัน