02-639-7878 ต่อ 990

เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 19.00 น.

ปิดหน้าต่างนี้
LINE Services
Facebook/IG Ads
Instagram
Google Ads
YouTube
Twitter (X) Ads
TikTok Ads
Website Design
SEO (Search Engine Optimization)
Content Marketing & Production
E-mail & SMS Marketing
Influencer Marketing
Web Hosting & Domain
Facebook/IG Ads
Chatbot Service
ยืนยัน
Nipa Digital Marketing Add Line Nipa Digital Marketing Messenger
Google

วิธีตั้งค่า Google Ads Campaign Structure ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ

หน้าหลัก
บทความ
Google
วิธีตั้งค่า Google Ads Campaign Structure ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ
วิธีตั้งค่า Google Ads Campaign Structure ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ

Google Ads Campaign Structure


เคยไหม…ลงโฆษณาผ่าน Google Ads ไปแล้ว แต่ผลลัพธ์ไม่เป็นอย่างที่คิด งบโฆษณาหมดไปอย่างรวดเร็ว ลูกค้าใหม่ก็ไม่มีเข้ามา แถมยอดขายก็ไม่ขยับ! ถ้าใช่…อย่าเพิ่งคิดว่าโฆษณาหรือสินค้าไม่ดีนะ ให้ลองย้อนกลับมาดูว่า โครงสร้างแคมเปญ (Campaign Structure) ของคุณถูกต้องหรือยัง?


วันนี้ NIPA Agency จะพาคุณวางโครงสร้าง Google Ads ให้ตรงกับ Customer Journey แบบเข้าใจง่าย และทำตามได้ทันทีกัน


เข้าใจธุรกิจตัวเองก่อน ก่อนจะเริ่มยิงแอด

หลายแบรนด์มักจะมองว่าการใช้เครื่องมือ Google Ads ควรโฟกัสไปที่เรื่องของการ “ขายของ” เพียงอย่างเดียว แต่ลืมคิดว่า Google Ads คือเครื่องมือสร้างความน่าเชื่อถือ และความประทับใจแรกให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี เมื่อรู้แบบนี้แล้วลองวางแผนโฆษณาให้สอดคล้องกับ Customer Journey ของลูกค้าดูสิ


ตัวอย่างเช่น

  • ลูกค้ายังไม่รู้จักแบรนด์ → ใช้โฆษณา YouTube เพื่อให้รู้จักแบรนด์ก่อน
  • ลูกค้ากำลังหาข้อมูล → ใช้โฆษณา Search Ads ตอบคำถามที่เขาสงสัย 
  • ลูกค้ากำลังหาข้อเปรียบเทียบ → เริ่มยิงโฆษณาแบบเน้นจุดเด่นของแบรนด์ผ่าน Remarketing
  • ลูกค้าพร้อมตัดสินใจซื้อ → ใช้โฆษณา Shopping Ads หรือ Performance Max เพื่อปิดการขาย


4 ขั้นตอนวางโครงสร้างแคมเปญแบบครบวงจร

1. แบ่งแคมเปญตาม “ขั้นตอนการตัดสินใจ”

แทนที่จะแบ่งตามสินค้าตามวิธีแบบดั้งเดิมคือแบ่งแคมเปญตามสินค้า เช่น แคมเปญ A = สินค้า 1, แคมเปญ B = สินค้า 2 ให้ลองปรับการวางโครงสร้างแคมเปญใหม่ โดยเปลี่ยนมาแบ่งตามขั้นตอนการตัดสินใจของลูกค้าแทน ซึ่งวิธีนี้ช่วยให้คุณสื่อสารกับลูกค้าได้ตรงกับความต้องการในแต่ละช่วงได้ดียิ่งขึ้น

 

ตัวอย่างเช่น

  • แคมเปญ Awareness ต้องทำให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์มากขึ้น

  • แคมเปญ Consideration ต้องเริ่มให้ข้อมูลของแบรนด์เพื่อช่วยลูกค้าตัดสินใจ
  • แคมเปญ Decision ช่วยในการปิดการขายมากขึ้น


2. เลือกกลุ่มเป้าหมายจาก “พฤติกรรม” แทน “ข้อมูลพื้นฐาน”

การเลือกกลุ่มเป้าหมายไม่ควรดูแค่เพศ อายุ หรือรายได้อีกต่อไป ตอนนี้ Google Ads มีเครื่องมือช่วยเลือกกลุ่มเป้าหมายจาก “ความสนใจ” และ “พฤติกรรมล่าสุด” แบบนี้โฆษณาจะเข้าถึงคนที่มีแนวโน้มสนใจสินค้าของคุณมากขึ้นได้


ตัวอย่างเช่น

  • คนที่เพิ่งค้นหาคำว่า “ซื้อบ้าน” แบรนด์ที่ขายเฟอร์นิเจอร์ - ก็สามารถยิงโฆษณาไปหากลุ่มนี้ได้เลย เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เชื่อมโยงกัน
  • คนที่เข้าดูเว็บรีวิวโทรศัพท์ แบรนด์ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องเคส หรืออุปกรณ์เสริม - ก็สามารถยิงโฆษณาเพื่อขายอุปกรณ์เสริมได้ 


3. วางงบโฆษณาตาม “ความพร้อมในการตัดสินใจ”

แทนที่จะแบ่งงบตามแคมเปญแบบเดิม ๆ ลองจัดสรรงบตาม Customer Centric โดยยึดจากความต้องการของลูกค้าเป็นตัวตัดสินใจแทน วิธีนี้ช่วยให้คุณใช้งบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดโอกาสเสียงบไปโดยเปล่าประโยชน์


ตัวอย่างเช่น

  • Cold Zone (20% ของงบ) คือกลุ่มที่ยังไม่รู้จักแบรนด์ เน้นให้เขาจำแบรนด์ได้ก่อน
  • Warm Zone (50% ของงบ) คือกลุ่มที่เริ่มสนใจสินค้า เน้นให้ข้อมูลช่วยตัดสินใจ
  • Hot Zone (30% ของงบ) คือกลุ่มที่พร้อมซื้อแล้ว ใช้โฆษณาเพื่อปิดการขาย


4. ใช้ฟีเจอร์ Campaign Experiments ทดลองแคมเปญ

หลายคนไม่รู้ว่า Google Ads มีฟีเจอร์ช่วยทดสอบโฆษณาแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยคุณหาว่าแบบไหนได้ผลดีที่สุด ตัวอย่างเช่น ข้อความโฆษณาแบบไหนดึงดูดคนคลิกได้มากกว่า, หน้าเว็บไซต์แบบไหนปิดการขายได้ดีกว่า หรือว่าใช้ Smart Bidding แบบไหนได้ผลดีที่สุด


ตัวอย่างโครงสร้างแคมเปญสำหรับธุรกิจ

Campaign 1: Awareness (YouTube Ads + Discovery Ads)

เนื้อหาโฆษณา: วิดีโอรีวิวเปรียบเทียบข้อดีของเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน เช่น “5 เหตุผลที่คุณควรเปลี่ยนมาใช้เครื่องซักผ้าประหยัดไฟ”

เป้าหมาย: ทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักแบรนด์และเห็นภาพประโยชน์ที่ได้รับ


Campaign 2: Consideration (Search Ads + Display Remarketing)

คีย์เวิร์ดที่ใช้: “เครื่องซักผ้าประหยัดไฟยี่ห้อไหนดี”, “รีวิวตู้เย็นประหยัดไฟ”

Remarketing: ยิงโฆษณาแสดงผลไปยังคนที่เคยเข้าเว็บไซต์หรือดูวิดีโอ แต่ยังไม่กดดูรายละเอียดสินค้า

คอนเทนต์โฆษณา: เสนอ Comparison Chart แบบง่าย ๆ หรือบทความแนะนำวิธีเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้าน


Campaign 3: Decision (Performance Max + Search Exact Match)

คีย์เวิร์ดเน้นปิดการขาย: “ซื้อเครื่องซักผ้าลดราคา”, “ตู้เย็นโปรโมชัน 2025”

ข้อเสนอ: แจกโค้ดส่วนลดพิเศษ หรือส่งเสริมด้วยบริการติดตั้งฟรี หรือผ่อน 0%

กลยุทธ์: ใช้ Dynamic Ads ดึงรายการสินค้าพร้อมราคามาแสดงให้ลูกค้าที่เคยเข้าเว็บไซต์เห็นในช่วงเวลาที่เหมาะสม


สรุป

การวางโครงสร้าง Google Ads ให้มีประสิทธิภาพ ไม่ได้วัดกันที่งบโฆษณาสูงหรือการเลือกใช้คีย์เวิร์ดฮิตเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเริ่มจากการเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง รู้ว่าพวกเขาอยู่ในช่วงใดของกระบวนการตัดสินใจซื้อ และพร้อมปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดตลอดเวลา หากคุณวางแผนได้ตรงจุดแบบนี้ โฆษณา Google Ads จะกลายเป็นเครื่องมือสร้างยอดขายได้จริง และได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากว่าหลายเท่าแน่นอน!


ถ้ายังไม่แน่ใจจะเริ่มต้นวางโครงสร้างโฆษณาอย่างไรดี NIPA Agency พร้อมช่วยวางแผนและดูแลแคมเปญ Google Ads ของคุณให้ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าทุกงบประมาณ ปรึกษาเราได้ทุกเมื่อ ทักเลย!


ส่วนลดพิเศษ คลิกเลย👇


บทความที่เกี่ยวข้อง
Google
Google Ads คืออะไร? ทำไมเป็นเครื่องมือปั้นยอดขายที่นักการตลาดยุคใหม่ต้องใช้

Google
Google Ads ลงโฆษณาได้หลากหลาย บน Network ขนาดยักษ์

Google
ทริคง่ายๆ กับการทำ Google Adwords ให้ติดตา สร้างโฆษณาให้ติดใจ

Google
รู้จัก Google display network ไปกับ Nipa

View all

รับคำปรึกษาฟรี!
บริการที่น่าสนใจ
บริการของคุณ