เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 19.00 น.
การทำ SEO เพื่อให้หน้าเว็บไซต์ติดอันดับในหน้าแรกเมื่อมีการค้นหาผ่าน Search Engine อย่าง Google นั้น เพียงแค่สร้างหน้าเว็บไซต์ และลงบทความเป็นประจำแต่ไม่ได้มีการจัดเตรียมแผนเว็บไซต์ไว้ให้รับรองการทำ SEO ก็เหมือนคุณหลับตาวิ่งแข่งมาราธอน ความพยายามระยะยาวที่สักแต่มุ่งไปข้างหน้าอย่างมืดบอด ไร้ทิศทางชัดเจน เพราะขาดเครื่องมือและเทคนิคที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณประสบความสำเร็จ และช่วยดึงศักยภาพของแต่ละบทความที่เขียนออกมาได้สูงสุด
วันนี้เรารวบรวมเทคนิดเตรียมเว็บไซต์ ทำSEO มาให้คุณแล้วในบทความเดียว อ่านจบได้เทคนิคครบอัพเดตใหม่ล่าสุด แค่คุณลองทำตามทีละข้อจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณได้อันดับที่ดีขึ้นในผลการค้นหาอย่างแน่นอน
เริ่มต้นด้วยการสร้างเว็บไซต์ เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงเลือกที่จะใช้ WordPress ในการสร้างบล็อกหรือเว็บไซต์ ซึ่งเครื่องมือตัวนี้มีปลั๊กอินเสริมที่จะช่วยให้เว็บไซต์ได้อันดับในหน้าค้นหาที่ดีขึ้นมากมายหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น Yoast SEO, All in One SEO Pack, SEO Press, SEO Framework, Nitropack และ Rank Math SEO ลองโหลดหลั๊กอินเหล่านี้มาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำ SEO บนเว็บไซต์ของคุณ
เมื่อทำเว็บไซต์เรียบร้อยแล้วก็มาต่อกันที่การ Tracking พฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์ เพื่อหาจุดที่ต้องพัฒนาต่อไป โดยอาศัยเครื่องมือจาก Google อย่าง Google Analytics โดยการเข้าไปสร้าง Account แล้วเพิ่ม Domain ของเว็บไซต์เราเข้าไป แล้วอย่าลืมเอาโค้ดที่ได้มาติดในเว็บไซต์ของเราเองด้วยนะ
อีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์คือการเอาเว็บไซต์ไปฝากไว้กับบริการ Google Search Console จะช่วยได้เราได้ข้อมูลของปริมาณการแสดงผลในหน้าค้นหา จำนวนการคลิก และคีย์เวิร์ดไหนบ้างที่ได้รับการตอบรับที่ดี รวมทั้งสามารถบอกได้ว่าฐานข้อมูลของ Google เก็บเว็บไซต์ของเราไว้หรือยัง บอทต่างๆ สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้หรือไม่ ซึ่งตรวจสอบได้ด้วยฟังก์ชัน URL Inspection Tool ใน Google Search Console ที่สำคัญที่สุดคือ Google Search Console จะแนะนำเราได้ว่าเว็บไซต์มีจุดผิดพลาดตรงไหนบ้าง และต้องแก้ไขอะไรบ้างเพื่อผลลัพธ์การค้นหาที่ดี
Sitemap หรือก็คือลิสต์รายการลิงก์ของหน้าต่างๆ ที่มีอยู่บนเว็บไซต์ สร้างไว้เพื่อให้บอทเข้ามาดึงข้อมูลไปเก็บเข้าฐานข้อมูลของ Google ส่งผลให้หน้าเว็บไซต์ถูกค้นพบง่ายขึ้น มีโอกาสดึงดูดผู้เข้าชมได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อทำ Sitemap สำเร็จแล้ว เราาควรนำไปฝากไว้กับ Google Search Console เพื่อให้มั่นใจว่าโดนดึงเข้าฐานข้อมูลอย่างแน่นอน
มาต่อกันที่การช่วยให้บอทดึงข้อมูลของเว็บไซต์เราได้ครบถ้วนมากขึ้น โดยการสร้างไฟล์ robots.txt เพื่อบอกให้บอทรู้ว่าคววรมาเก็บข้อมูลจากส่วนไหน หน้าไหน ของเว็บไซต์เราไ่ปแสดงผลในหน้าค้นหาบ้าง ป้องกันไม่ให้บอทดึงข้อมูลซ้ำ ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่เราไม่ต้องการให้แสดงผล และช่วยบล็อกไม่ให้บอทบางตัวเข้ามาเอาข้อมูลจากเว็บไซต์ของอเราไปทำแสปมคอนเทนต์อีกด้วย
หากมองในมุมของผู้อ่าน เชื่อว่าไม่มีใครอยากเจอลิงก์เสีย หรือ Error 404 นี่อาจทำให้จำนวนการเข้าชม และเวลาที่ใช้บนเว็บไซต์ลดลง ส่งผลเสียต่ออันดับในการทำ SEO เราจึงควรตรวจสอบเว็บไซต์ของตัวเองอยู่เป็นประจำ โดยใช้เครื่องมือ Google Search Console หรือ Screaming Frog หากพบ Error สามารถแก้ไขได้โดยการสร้างหน้าลิงก์ใหม่ ลบลิงก์ที่เสีย หรือเปลี่ยนเส้นทางไปที่ลิงก์ใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์พบประสบการณ์ที่ไม่ดี
เข้าสู่การปรับแต่งคอนเทนต์ที่จะลงเว็บไซต์ ถึงแม้ว่าเราจะอยากใส่ภาพที่มีรายละเอียดสูงมากแค่ไหน แต่อย่าลืมว่ายิ่งภาพละเอียดมาก ไฟล์ยิ่งใหญ่ กินพื้นที่ และทำให้การดาวน์โหลดภาพรวมของเว็บไซต์ช้าลง หากอยากรู้ว่าตอนนี้ไฟล์ภาพได้เกินลิมิตแล้วหรือยัง คุณสามารถเช็กได้ด้วย Google PageSpeed เครื่องมือที่จะช่วยบอกได้ว่าเราควรปรับแต่งไฟล์ภาพให้เล็กลงแล้วหรือยัง เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณสามารถแสดงผลได้รวดเร็วขึ้น โดยเครื่องมือจะเข้ามาช่วยในจุดได้ก็มี Tinypng ที่จะช่วยลดขนาดไฟล์โดยไม่ลดทอนคุณภาพ
ตรวจเช็กว่าคอนเทนต์บนเว็บไซต์ของคุณ มีการใส่ข้อมูลเหล่านี้อย่างครบถ้วน เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะไปปรากฏในหน้าค้นหาของ Search Engine การคัดเลือกคำ หรือการใช้คำบรรยายจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยดึงดูดผู้เข้าชม รวมทั้งส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์อีกด้วย
แม้แต่การใส่คำอธิภาพรูปภาพก็มีผล หากคุณใส่คำบรรยายภาพโดยระบุว่าภาพนั้นๆ เกี่ยวกับอะไรบ้าง โดยมีคีย์เวิร์ดอยู่ในนั้น รูปเหล่านี้จะขึ้นไปแสดงผลเวลามีคนค้นหา และอาจทำให้พวกเขาคลิกเข้ามาอ่านคอนเทนต์บนเว็บไซต์ของเราได้
นอกจาก Title ที่ต้องน่าสนใจและสื่อถึงเนื้อหาของคอนเทนต์แล้ว URL ก็เช่นกัน URL ที่จะช่วยห้เว็บไซต์ได้อันดับที่ดีขึ้นในการทำ SEO จะต้องระบุได้ทันทีว่าคอนเทนต์มีเนื้อหาเป็นเช่นไรทันทีที่เห็น ประกอบด้วยคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับเนื้อหา ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนการคลิกลิงด์ได้อย่างดี
เราแนะนำว่า URL ควรเป็น Long-tail Keywords ที่เกิดจากการผสมกันตั้งแต่ 3 คำขึ้นไป ไม่มีคำซ้ำกับหน้าอื่นๆ ในเว็บไซต์เดียวกัน ไม่มีสัญลักษณ์ที่ไม่จำเป็นอย่าง & หรือ % ควรเลือกใช้เป็นคำภาษาอังกฤษเท่านั้น และปรับให้สั้น กระชับ ความยาวไม่ควรเกิน 60 ตัวอักษร
การทำให้เกิดผลการค้นหาแบบ Snippet จะช่วยเพิ่มจำนวนคนที่คลิกเข้าสู่เว็บไซต์ของเราได้ดีอีกวิธีหนึ่ง คุณสามารถทำได้โดยใช้ Scheme Markup หรือรูปแบบโครงสร้างเว็บ ซึ่งอาจแตกต่างออกไปตามลักษณะของข้อมูล ซึ่งคอนเทนต์ในเชิงรวมคำถามที่พบบ่อยแบบ Q&A มีโอกาสติด Snippet สูงเหนือผลการค้นหาอื่นๆ
อุปกรณ์มือถือกลายเป็นอวัยวะที่ 37 ของคนเราในยุคปัจจุบัน การเข้าชมเว็บไซต์หรือค้นหาข้อมูลส่วนใหญ่ก็เกิดการเข้าชมบนอุปกรณ์มือถือด้วยกันซะส่วนใหญ่ เราจึงควรทำหน้าเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์กับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะทำให้อันดับในการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ดีขึ้นอีกด้วย หากเว็บไซต์ของคุณเป็นที่ชื่นชอบของผู้เข้าชม ก็เท่ากับว่า Google จะนำมันขึ้นแสดงผลในหน้าค้นหาในอันดับต้นๆ นั่นยิ่งจะทำให้มีคนพบเห็นเว็บไซต์ของคุณง่ายขึ้น คลิกเข้ามามากขึ้น และได้อันดับดียิ่งขึ้น
หลังจากทำทุกอย่างครบแล้ว ก็มาต่อกันที่การเชื่อมโยงลิงก์เนื้อหาบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นจากภายในเว็บไซต์ของเราเอง หรือจะมาจากเว็บไซต์ภายนอก เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น และได้อันดับที่นี้ขึ้นไปอีก ซึ่งอาจทำให้ได้ยอดขายเพิ่มขึ้นหลายเท่า
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายนั่นคือการติดตามผล ไม่ใช่ว่าทำทุกอย่างเสร็จแล้วจะปล่อยปละละเลยเว็บไซต์ของเราได้ แต่ต้องคอยเช็กประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับแก้ไขให้คงอันดับที่ดีไว้ตลอดเวลา