เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 19.00 น.
การขึ้นหน้าแรกของหน้าค้นหา และเรียกคนเข้ามาดูเว็บไซต์ได้มากขึ้นแบบ organic คงเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของหลายๆ แบรนด์ แต่การที่จะพาเว็บไซต์ของคุณไปถึงจุดนั้นได้ต้องให้ความสำคัญกับการทำ SEO โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขั้นตอนเริ่มต้น อย่างการค้นหาคีย์เวิร์ด หรือ Keyword research หากเลือกใช้คีย์เวิร์คที่ไม่มีปริมาณการค้นหา ไม่มีการแข่งขัน และไร้คุณภาพ แทนที่จะพาเว็บไซต์ของคุณไปสู่เป้าหมาย กลับกลายเป็นเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ แถมยังไม่คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรงด้วยซ้ำไป
นิภา จะพาคุณมาทำความเข้าใจการทำ Keyword research ให้มากขึ้น เพื่อพาเว็บไซต์ของคุณติดอันดับ SEO ในหน้าแรกด้วยเทคนิคการค้นหาคีย์เวิร์ด พร้อมทั้งแนะนำเครื่องมือคุณภาพในบทความนี้เลย
ขั้นตอนการค้นหาคีย์เวิร์ด ไม่ว่าจะเป็นคำหรือวลีที่ถูกใช้ในการค้นหาข้อมูลสินค้า บริการ แบรนด์ หรือแม้กระทั่งคอนเทนต์จากเครื่องมือค้นหา Search engine ต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ จัดลำดับความสำคัญ เรียบเรียงและแทรกลงไปในหน้าเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับเนื้อหา และช่วยให้หน้าเว็บไซต์มีประสิทธิภาพในการนำส่งที่ดีขึ้น เมื่อเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ตอบโจทย์กับคำค้นหา หน้าเว็บไซต์ของคุณก็จะถูกแสดงขึ้นเป็นลำดับแรกๆ ในหน้าแสดงผลการค้นหา
ยกตัวอย่างเช่นเวลาที่เราเข้าใช้งาน search engine เจ้าหนึ่ง แล้วพิมพ์คำค้นหา “ทำการตลาดออนไลน์”
คำว่า “ทำการตลาดออนไลน์” ก็ถือเป็น keyword หนึ่งเช่นกัน แต่เมื่อผู้ใช้งานเครื่องมือสืบค้นมีหลากหลายที่มา หลากหลายความสนใจ คำค้นหาย่อมมีจำนวนผู้ใช้งานแตกต่างกันไป แต่คำไหนล่ะ ที่จะมีผู้คนหยิบไปกรอกในช่องค้นหาบ่อยกว่า นี่แหละคือส่วนที่ Keyword research เข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยไขคำตอบนี้ได้
ปริมาณการค้นหาต่อเดือน (Search Volume) : พิจารณาความถี่ที่ keyword นั้นถูกหยิบไปใช้ในการค้นหาต่อเดือน
ปริมาณการแข่งขัน (Keyword difficulty) : พิจารณาปริมาณคู่แข่งที่เลือกใช้ keyword นั้นๆ ในการทำ SEO
ความสำคัญของคีย์เวิร์ด (Pioritizing keywords) : โดยอาจพิจารณาร่วมกับแผนงาน กลยุทธ์ SEO (Content strategy) ของแบรนด์ ว่าเหมาะกับการเลือกใช้ keyword ดังกล่าวหรือไม่ มีโอกาสที่จะโน้มน้าวใจเพื่อเปลี่ยนจากผู้ค้นหา มาเป็นลูกค้าของแบรนด์ได้มากน้อยเพียงใด
Head keyword หรือ Head term คือคำ 1 คำที่มีความหมายกว้างๆ ทำให้มีปริมาณการค้นหาสูง และทำให้มีการแข่งขันที่สูงด้วยเช่นกัน อาจเข้าถึงคนได้จำนวนมาก แต่ไม่สามารถคัดกรองคนที่มีความสนใจในสินค้า หรือบริการของแบรนด์ได้จริงๆ เช่น นิภา ให้บริการดูและรับทำการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร แต่ใช้ Keyword ในการทำ SEO เป็นเพียง “การตลาด” ซึ่งอาจทำให้มีคนเห็นเว็บไซต์ของนิภาได้มาก แต่ก็ดึงดูดทั้งคนที่สนใจการตลาดออนไลน์ และออฟไลน์ ซึ่งอาจไม่ตรงกับเป้าหมายของนิภามากนัก
Body keyword โดยทั่วไปแล้วมักมีจำนวนคำราวๆ 2 - 3 คำ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า “การตลาด ออนไลน์” เนื่องจากเป็นกลุ่มคำจึงมีความเจาะจงเพิ่มขึ้น ปริมาณการค้นหาคีย์เวิร์ดนั้นๆ ลดลง แต่ในทางกลับกันเมื่อเจาะจงมากขึ้น การแข่งขันก็จะน้อยลง รวมถึงสามารถเข้าถึงคนที่มีความสนใจกับสินค้าและบริการของแบรนด์จริงๆ ได้มากขึ้น
Long tail keyword คือ คีย์เวิร์ดที่ประกอบไปด้วยคำมากกว่า 4 คำขึ้นไป เช่น “รับทำ การตลาด ออนไลน์ ครบวงจร” มักมีปริมาณการค้นหาคีย์เวิร์ดน้อยกว่าคีย์เวิร์ดประเภทอื่นๆ แต่แน่นอนว่าสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาสินค้าและบริการของเราอย่างชัดเจน รวมไปถึงคู่แข่งที่จะใช้ Long tail keyword เหมือนเราทุกคำก็จะน้อยลงไปด้วย
ซึ่งความพิเศษของ Long tail keyword คือ การค้นหาส่วนมากมักเป็นการค้นหาโดยใช้คีย์เวิร์ดประเภทนี้ ดังนั้นเมื่อนำ Long tail keyword หลายๆ คำ มารวมไว้ด้วยกันในเว็บไซต์ของเรา นอกจากจะเข้าถึงเป้าหมายได้ตรงกลุ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้มีปริมาณการค้นหาคีย์เวิร์ดสูงขึ้นอีกด้วย
เมื่อรู้จักประเภทของคีย์เวิร์ดกันไปแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเลือกใช้แค่ Long tail keyword เท่านั้น แต่ต้องผสมผสานคีย์เวิร์ดทั้ง 3 ประเภทเข้าด้วยกัน เพื่อให้เข้าถึงทั้งกลุ่ม mass และ niche ไปพร้อมๆ กันนั่นเอง
วิธีหา keyword ด้วย Google Keyword Planner น่าจะเป็นตัวเลือกแรกๆ สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO เนื่องจากค่อนข้างได้ข้อมูลที่หลากหลาย และสามารถวิเคราะห์ด้วยฐานข้อมูลการค้นหาขนาดใหญ่ที่สุดจาก Google search engine
วิธีการใช้เครื่องมือหา keyword ชิ้นนี้ก็ง่ายๆ เพียงแค่ต้องสมัครบัญชีผู้ใช้งานของ Google Keyword Planner ก่อน เมื่อทำการ log in เรียบร้อย ให้เลือก tool and setting ที่มุมขวาบน จากนั้นคลิกที่ keyword planner
จะพบหน้าต่างที่แสดงดังภาพ เลือก discovery new keywords
จะเจอหน้าต่างดังต่อไปนี้ โดยเราสามารถกรอก Keyword ที่ต้องการเช็กลงไปได้สูงสุดถึง 10 keywords พร้อมๆ กัน
Google Keyword Planner ก็จะทำการวิเคราะห์ keywords ที่เราระบุลงไป โดยมีทั้งปริมาณการค้นหาคีย์เวิร์ดนั้นๆ รวมทั้งโชว์ระดับการแข่งขันของคีย์เวิร์ด นอกจากนี้ยังมีการแนะนำ Keyword ใกล้เคียงอื่นๆ ที่น่าสนใจสำหรับการนำไปใช้ทำ SEO
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ URL ของเว็บไซต์มาวิเคราะห์หาคีย์เวิร์ดที่มีอยู่ในหน้าเว็บไซต์ ซึ่งจะสามารถเลือกได้ทั้งแบบสแกนแค่ในหน้านั้นๆ หรือเลือกสแกนทั้งโดเมนก็ได้อีกด้วย
หลังจากทำความเข้าใจขั้นตอนวิธีหา Keyword ข้างต้นแล้ว คงจะเข้าใจดีถึงความสำคัญของการทำ Keyword research เรียกได้ว่าหากก้าวแรกพลาด ก็จะทำให้หนทางสู่การนำเว็บไซต์ไปโชว์ในหน้าแรกของการค้นหาล่าช้า หรืออาจไม่เป็นไปตามที่หวัง และยังเสียเวลาเปล่าไปหลายเดือน กว่าจะกลับมาตั้งหลักใหม่ ก็คงโดนคู่แข่งแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปหลายส่วนเสียแล้ว
เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ก้าวแรกของการทำ SEO ลองเข้ามาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ SEO จากนิภา เพื่อช่วยวางแผน และบริหารจัดการกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์กับเป้าหมายทางการตลาด ร่วมกันทำให้แบรนด์ของคุณติดอันดับท็อปในหน้าแรกได้ตามที่คาดหวัง