เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 19.00 น.
“โควิดเป็นเหตุ” จะใช้ประโยคนี้คงไม่เกินจริง เพราะตั้งแต่มีวิกฤติโรคระบาดที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงทั่วโลก ทุกคนต่างปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากที่เคยเปิดเผยหน้า ก็ต้องใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้าน จากที่เคยเพิกเฉยต่อการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ กลับต้องพกติดกระเป๋าเพื่อล้างมือให้สะอาด จะเห็นได้ว่า Crisis ระดับโลกได้เปลี่ยนพฤติกรรม ณ ช่วงเวลาหนึ่งให้เกิดเป็นวิถีใหม่ ซึ่งเรียกว่า “New Normal” อย่างที่คุ้นหูกัน แล้วอย่างนี้นักธุรกิจ SMEs หรือพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ จะไม่ปรับตัว ก็คงตามคู่แข่งไม่ทัน
ตั้งแต่มีวิกฤติเข้ามา ทุกธุรกิจต่างให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์มากขึ้น จะเห็นได้ว่ายอดการเติบโตของ E-commerce พุ่งขึ้นอย่างมหาศาล ผู้ที่ปรับตัวได้ทัน ยอด Conversion rate ก็อาจแปรผันตามไปด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในจักรวาลออนไลน์ยังมี Touchpoint ที่จะช่วยสร้าง Brand awareness และ Conversion rate อีกเยอะแยะมากมาย ทั้งแพลตฟอร์มต่างๆ หรือ แม้กระทั่งเว็บไซต์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้แบรนด์เติบโตได้ แล้วเว็บไซต์ทำหน้าที่อย่างไร ยังสำคัญอยู่ไหมในช่วงท้ายปี 2023 และปี 2024 ที่กำลังจะมาถึง วันนี้เราจะพาไปดูกัน กับ 4 เหตุผลหลัก ว่าทำไมร้านค้าออนไลน์ถึงต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
ข้อดีของการมีเว็บไซต์ ทำให้ผู้คนที่มีโอกาสเป็นลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเสิร์ชคีย์เวิร์ดสินค้าที่ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติม หากเว็บของคุณถูกจัดอันดับ SEO ให้อยู่ในอันดับต้นๆ แล้วล่ะก็ อาจมีโอกาสที่จะเพิ่มยอดการเข้าชมได้ดีทีเดียว หรือหากต้องการเพิ่มอัตราการเข้าชมให้มากขึ้น ก็สามารถทำการตลาด แบบ SEM (Search Engine Marketing) แต่การแข่งกันในการประมูลคีย์เวิร์ดค่อนข้างสูง หากผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์อยู่ในตลาดที่ค่อนข้าง Mass
เว็บไซต์อาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วย Represent แบรนด์หรือสินค้า เป็นพื้นที่ที่สามารถให้ผู้ประกอบการแชร์ Brand story หรือ Product Concept ได้อย่างเต็มที่
ทำให้ลูกค้าที่แวะเวียนเข้ามาได้รับรู้และซึมซับคอนเซ็ปต์ของแบรนด์มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นพื้นที่แชร์ข่าวสาร บทความที่อยากนำเสนอ แชร์ช่องทางการติดต่อทั้งหมดของแบรนด์ไว้ในที่เดียว ทำให้ง่ายต่อการกระตุ้น Brand Awareness และยังสร้าง Brand Trust ได้ดีอีกด้วย
ให้เปรียบเว็บไซต์ เป็นเหมือนร้านค้าออฟไลน์ ก็อาจเป็นเหมือนสาขาหลัก สาขาใหญ่ที่เราเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มนี้ด้วยตัวเอง การที่ฝากสินค้าไว้บนแอปพลิเคชัน Ecommerce เท่านั้นอาจไม่พอ เพราะร้านค้าออนไลน์บาง Industrial อาจต้องอาศัยเว็บไซต์ในการเก็บข้อมูลของลูกค้า ให้ข้อมูลลูกค้า ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร หรือการรวบรวมข้อมูลช่องทางจำหน่ายอื่นๆ เพื่อให้ Landing ไป Platform อื่นๆ ได้อย่างลื่นไหล หรือบางธุรกิจก็อาจเหมาะกับการทำ Sale Page กระตุ้นยอดขายบนเว็บไซต์
บางธุรกิจก็เหมาะกับการทำ Informative website หรือบางสถานการณ์ ก็เหมาะกับการทำ Landing Page อาจจะต้องกำหนดจุดประสงค์ให้ชัดเจนว่าอยากได้ผลลัพธ์แบบไหนในการทำเว็บไซต์
การที่แบรนด์มีเว็บไซต์ ทำให้สามารถให้ข้อมูลแก่ผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เหมือนร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอดทั้งวัน และเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้แบบไม่จำกัดช่วงเวลา โดยเว็บไซต์สามารถนำเสนอได้หลากหลายมากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ ดึงดูดด้วย Element และ CI ที่นำเสนอความเป็นแบรนด์ พร้อมทั้งต้องออกแบบ UX UI หากเป็นเว็บไซต์ที่ User Friendly ได้ ก็ไม่ยากที่จะดึงดูดให้เกิด Traffic ตามมา
แต่ถึงอย่างนั้นแล้ว การทำwebsite ก็มีข้อเสียเช่นกัน เพราะอาจใช้ระยะเวลานานในการออกแบบประสบการณ์ใหม่ๆ รวมถึงต้องใช้งบประมาณเนื่องจากการสร้างเว็บไซต์ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์เว็บให้สมบูรณ์แบบ แต่ทางเราขอบอกเลยว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนแน่นอน
หากท่านใดสนใจอยากลองมีหน้าเว็บของตัวเอง แต่มีงบจำกัด หรืออยากลองสร้าง ก็มีตัวเลือกอื่น เช่น ทำ Sale page เว็บไซต์ที่มีเพียงหน้าเดียวเหมาะกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการเพิ่มยอดขายเป็นหลัก หรือทำแค่ Landing Page เพื่อเก็บ Lead หรือข้อมูลการลงทะเบียนต่างๆ ที่ NIPA มีผู้เชี่ยวชาญในการทำเว็บไซต์ ที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้ หรือหากต้องการเจาะลึกระหว่างการทำ Sale page และ ทำ Landing Page ต่างกันอย่างไร ก็สามารถดูได้เพิ่มเติมได้เลย