02-639-7878 ต่อ 990

เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 19.00 น.

ปิดหน้าต่างนี้
โฆษณาบน LINE
โฆษณาบน Facebook
โฆษณาบน Instagram
โฆษณาบน Google
โฆษณาบน YouTube
โฆษณาบน Twitter
โฆษณาบน TikTok
รับออกแบบเว็บไซต์ธุรกิจ
SEO ( Search Engine Optimization )
Content Marketing
การตลาดบน E-mail และ SMS
รับจ้างรีวิวสินค้า และบริการ
รับทำวิดีโอโฆษณา
โฆษณาบน Facebook Ads
บริการ ChatBot
ยืนยัน
Nipa Digital Marketing Add Line Nipa Digital Marketing Messenger
Digital Marketing

รวมเคล็ดลับ ตั้งราคาสินค้าออนไลน์แบบ…เห็นปุ๊บ ซื้อปั๊บ!

หน้าหลัก
บทความ
Digital Marketing
รวมเคล็ดลับ ตั้งราคาสินค้าออนไลน์แบบ…เห็นปุ๊บ ซื้อปั๊บ!
รวมเคล็ดลับ ตั้งราคาสินค้าออนไลน์แบบ…เห็นปุ๊บ ซื้อปั๊บ!

การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ แม้ว่าธุรกิจจะมีสินค้าที่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง แต่หากไม่รู้เทคนิคและเคล็ดลับในการตั้งราคาสินค้าที่เข้าถึงใจลูกค้า ก็อาจทำให้ธุรกิจนั้นๆ ตกม้าตายได้เลยทีเดียว


แล้วธุรกิจควรจะตั้งราคาสินค้าออนไลน์อย่างไรให้ดึงดูดความสนใจของลูกค้า แบบเห็นปุ๊บ และกดซื้อปั๊บ หรือธุรกิจควรตั้งราคาสินค้าให้สูงหรือต่ำกว่าตลาดดี ? ไปค้นหาวิธีตั้งราคาสินค้าบนโลกออนไลน์ให้สุดปังพร้อมกันได้เลย!


สิ่งที่ควรคำนึงถึง ก่อนการตั้งราคาสินค้า


  1. ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรต่างๆ เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเช่าที่ ค่าแพคเกจจิ้ง
  2. ต้นทุนแฝง หมายถึง ค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำธุรกิจ เช่น ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ค่าติดต่อสื่อสาร ค่าเสียเวลา สินค้าคงคลัง เป็นต้น
  3. กำไรที่ต้องการ เพราะการทำธุรกิจจำเป็นต้องมีกำไร เพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ ดังนั้นกำไรจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบในการตั้งราคาสินค้า


แนะนำ 2 สูตรตั้งราคาสินค้า


  • สูตรที่ 1 คิดจากต้นทุนสินค้า (Markup on Coast)
    ราคาขาย = ต้นทุนสินค้ารวมต่อชิ้น + (%กำไรที่ต้องการ x ต้นทุน)

    Ex. เช่นขายยาดมหงส์ไทย 30 บาท อยากได้กำไร 50 = 30 + (50% x 30) = 45 บาท

  • สูตรที่ 2 คิดจากราคาขายสินค้า (Markup on Selling Price)

    ราคาขาย = 100 x ต้นทุนต่อชิ้น / (100 - กำไรที่ต้องการ)

    Ex. ขายยาดมหงส์ทองต้นทุน 30 อยากได้กำไร 60% = (100 x 30) / (100 - 60) = 75 บาท


5 เคล็ดลับตั้งราคาสินค้าให้โดนใจลูกค้า


  1. ตั้งราคาสินค้าจากจุดขาย

    แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจต่างต้องรู้จุดเด่น ความพิเศษ หรือจุดด้อยในสินค้าของตัวเอง รู้ว่าใครจะมาซื้อสินค้า รู้ว่าควรนำสินค้าไปขายที่ตรงไหน หรือมีต้นทุนต่อชิ้น และจะทำกำไรได้เท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถวางกรอบเบื้องต้นในการตั้งราคาสินค้าออนไลน์ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น

  2. ไม่ตั้งราคาสินค้าให้ต่ำเกินไป

    เจ้าของธุรกิจมือใหม่ อาจมองว่า การตั้งราคาสินค้าให้ต่ำกว่าคู่แข่งในตลาด จะเป็นกลยุทธ์ที่สามารถโน้มน้าวใจลูกค้าให้ควักเงินซื้อสินค้าได้เป็นอย่างดี แต่ต้องบอกว่าวิธีการนี้อาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว เพราะลูกค้าอาจมองว่า เมื่อสินค้ามีราคาถูก หมายความว่ามีคุณภาพลดลงตามไปด้วยเช่นเดียวกัน อาจส่งผลให้ลูกค้าหันไปซื้อสินค้าที่มีราคาแพงขึ้นมาหน่อย แต่ได้คุณภาพที่ดีกว่าแทน ดังนั้น ธุรกิจควรตั้งราคาสินค้าที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง

  3. ตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา

    อีกหนึ่งกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้วิธีอื่นๆ คือการตั้งราคาสินค้าให้ “ยั่วยวนใจลูกค้า” ซึ่งก็มีหลากหลายวิธี เช่น
    - การตั้งราคาที่ลงท้ายด้วยเลข 9 เช่น สินค้าราคา 100 บาท ก็ตั้งราคาขายไว้ที่ 99 บาท ซึ่งลูกค้ามักจะซื้อสินค้าที่มีตัวเลขที่น้อยกว่า เพราะเป็นตัวเลขที่ทำให้รู้สึกไม่แพงมาก
    - การให้ส่วนลดเป็นทอดๆ เช่น การแบ่งส่วนลดเป็น 2 รอบ เช่น 20% และ 30% แทนที่จะให้ส่วนลดเลยทีเดียว 50% ซึ่งจะช่วยดึงดูดลูกค้าและช่วยให้ธุรกิจสามารถขายของได้มากขึ้นนั่นเอง

  4. ตั้งราคาสินค้ากับค่าส่งแยกกัน

    ค่าส่งฟรี เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สามารถโน้มน้วใจลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง แต่เจ้าของธุรกิจที่อยากวางขายสินค้าในแพลตฟอร์ม E-commerce ต่างๆ เช่น Shopee, Lazada ควรตั้งราคาสินค้าและค่าขนส่งแยกออกจากกัน ไม่ควรบวกเข้าไปในราคาสินค้า เพราะลูกค้าที่ซื้อในแพลตฟอร์มเหล่านี้มักจะดูที่ราคาเป็นหลัก ทำให้เกิดการเปรียบเทียบราคา และทำให้พวกเขาตัดสินใจซื้อในร้านที่ถูกกว่าได้

    กลับกัน หากธุรกิจไหนมีเว็บไซต์ขายของเป็นของตนเอง ก็สามารถตั้งราคาสินค้าโดยบวกค่าขนส่งเข้าไปด้วยได้เลย เพราะลูกค้าจะให้ความสำคัญกับความคุ้มค่ามากกว่าการเปรียบเทียบนั่นเอง

  5. จัดโปรโมชันราคาให้น่าสนใจ

    เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจและเพิ่มโอกาสควักเงินซื้อสินค้าได้มากยิ่งขึ้น เช่น การจับคู่สินค้า การแถมสินค้า การลดราคาสินค้า แต่ธุรกิจไม่ควรจัดโปรโมชันบ่อยเกินไป เพราะจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ราคาสินค้าจริงก็คือราคาโปรโมชัน และลูกค้าจะรอซื้อสินค้าแต่ในช่วงโปรโมชันนั่นเอง ดังนั้น ธุรกิจจึงควรเลือกช่วงเวลาจัดโปรโมชันเป็นหลัก เช่น ช่วงต้นเดือน หรือวัน Double Day เช่น 5.5 , 7.7

ส่วนลดพิเศษ คลิกเลย👇


บทความที่เกี่ยวข้อง
Digital Marketing
เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง….จุดที่เราจับมือถือ… มากกว่าจับเม้าส์!!!

Digital Marketing
โฆษณาบนเว็บให้ได้ผล ด้วย Banner ที่โดนใจ

Digital Marketing
รวมเคล็ดลับ ตั้งราคาสินค้าออนไลน์แบบ…เห็นปุ๊บ ซื้อปั๊บ!

Digital Marketing
สรุป 5 เทรนด์ Brand Strategy กลยุทธ์สร้างแบรนด์ยังไงให้เข้าใจลูกค้า

View all

รับคำปรึกษาฟรี!
บริการที่น่าสนใจ
บริการของคุณ