Office Hour Mon - Fri 9.00 am - 7.00 pm
ยุคที่การแข่งขันสูง ร้านค้าไม่ได้มี Point of purchase เฉพาะแค่หน้าร้าน เกือบทุกบริษัทหันมาทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะหลังสถานการณ์ Covid-19 ถือเป็นจุดครั้งสำคัญของหลาย ๆ ธุรกิจ และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การสื่อสารระหว่าง ผู้ขาย กับ ผู้ซื้อ ผ่าน การเขียน Content และ การเขียนบทความ ของแบรนด์
ต้องบอกว่า Content ที่เราเจอกันในชีวิตประจำวัน มีทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ อินโฟกราฟิก รูปภาพ บทความ
คำถามคือ แล้ว Content แบบไหนจะเข้าถึงผู้บริโภค และเกิดผลตอบรับต่อแบรนด์มากที่สุด?
หลาย ๆ คนอาจจะมองข้ามถึง การเขียนบทความ โดยทั่วไปแบรนด์จะใช้การเขียนบทความในการบอกข้อมูล ให้ความรู้ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ แต่อย่าลืมว่า อักษรแต่ละตัวสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ไม่น้อยไปกว่าวิดีโอหรือภาพเลย ยิ่งการทำให้คนที่เข้ามาอ่านนึกภาพหรือจินตนาการตามบทความได้ นั่นถือเป็น Success หนึ่งของคนเขียนบทความเลยล่ะ
ต้องบอกเลยว่า การเพิ่มเรื่องราวให้กับสินค้าก็เหมือนการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเช่นกัน ซึ่งผู้บริโภคบางคนให้คุณค่ากับเรื่องราวมากกว่าตัวแบรนด์สินค้า
นึกถึงเคสการประมูลรองเท้าที่ใส่วิ่ง โครงการก้าวคนละก้าวของพี่ตูน กลายเป็นว่าคนไม่ได้สนใจแบรนด์รองเท้าที่พี่ตูนใส่ แต่แค่อยากได้รองเท้าที่พี่ตูนใส่วิ่ง อันนี้เห็นได้ชัดว่า คุณค่าบางครั้งไม่ได้มาจากแบรนด์สินค้า แต่มาจากเรื่องราวที่สั่งสมมา จนทำให้เกิดมูลค่าในตัวมันเอง
ยิ่งเรารู้ข้อมูลของผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายต่อการกำหนดแนวทางและหัวข้อของการเขียนบทความ เพราะหัวข้อคือประตูด่านแรกของบทความที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจว่า จะเข้ามาอ่านดี หรือไม่เข้ามาอ่านดี? เพราะฉะนั้นอย่าละเลยการเขียนหัวข้อบทความให้ดี ทีนี้ทริคในการคิดหัวข้อมีอะไรบ้าง?
- สั้นกระชับ น่าสนใจ การตั้งชื่อหัวข้อของ การเขียนบทความ จะต้องน่าสนใจ สั้นกระชับ น่าเข้ามาอ่าน ซึ่งตรงนี้จะต้องดูจากข้อมูลของกลุ่มผู้บริโภคว่า มีความสนใจด้านไหน
- มีความแปลกใหม่ การเขียนหัวข้อให้ดูสดใหม่ เข้ากับเทรนด์ปัจจุบัน
- มี Call to action ลับๆ การมีแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการตอบสนองกับแบรนด์ เช่น พูดถึงการสูญเสียประโยชน์หากไม่ได้ใช้สินค้า หรือ บริการจากแบรนด์
- ไม่โจมตี หรือเป็นการ Bully จนเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อแบรนด์
เราสามารถให้ความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ของเรา โดยแทรกข้อมูลที่จำเป็นต่อลูกค้าหรือเป็นสิ่งทีแบรนด์จะได้รับประโยชน์ จากข้อมูลนั้น ๆ ลงไปด้วย เพื่อให้ลูกค้าเกิดภาพจำ เช่น แบรนด์หน้ากากอนามัย มีบทความเรื่อง อันตรายจาก Covid-19 หรือ แบรนด์อาหารคลีน มีบทความเรื่อง อันตรายจากการทานน้ำมัน
จริง ๆ แล้วอาจจะต้องพูดว่า การซื้อโฆษณาถือเป็นทางเลือกให้มีจำนวนผู้เข้าชมเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้หากเนื้อหาในบทความไม่สอดคล้อง หรือไม่มีคุณภาพ การใช้เงินซื้อโฆษณาก็จะเกิดการสูญเปล่า ไม่มี Feedback จากลูกค้า การเขียนบทความ และการทำ Content ที่ดีจนเกิด Organic Share จะช่วยลด Cost หรือต้นทุนการโฆษณาในทุก Platform
นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์และสามารถ Lead ผู้บริโภคให้คล้อยตามได้ไม่ยาก หากเข้าใจ Customer Journey ของผู้บริโภคเป็นอย่างดี
การเขียนบทความที่ดี ช่วยให้คนพบเห็นสินค้าได้มากขึ้น จากการใช้ Keyword SEO (Search Engine Optimization) หรือ คำ ที่ผู้บริโภคมักใช้ค้นหาบ่อย ๆ
เราสามารถนำคำเหล่านี้เข้ามาอยู่ในเนื้อหาของบทความและหัวข้อต่าง ๆ เพื่อให้ Website หรือ Page ของแบรนด์เกิดการพบเห็นจากการค้นหา แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประโยค รูปในบทความ และ Action จากผู้บริโภค (การคลิก Link ในบทความ) นี่จึงเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ แบรนด์ต่างแย่งกันอยู่หน้าแรกของ Google Search เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่จะค้นหาและเข้าเว็บไซต์จากหน้าแรกของ Google Search เท่านั้น
อย่างที่กล่าวข้างต้น การเขียนบทความ หรือคอนเทนต์ ถ้าจะให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ต้องเริ่มตั้งแต่เข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย หากเราลงลึกหรือมีฐานข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์ Insight พฤติกรรม รู้เส้นทาง Customer journey และมีทีมวางแผนสำหรับแบรนด์โดยเฉพาะ จะยิ่งช่วยกระตุ้นและยกระดับยอดขายของแบรนด์ให้เพิ่มมากขึ้น นิภา ดิจิทัล เอเจนซี่ โซลูชันเพื่อการเขียนบทความ และเขียนคอนเทนต์ออนไลน์