02-639-7878 ext 990

Office Hour Mon - Fri 9.00 am - 7.00 pm

Close This Window
LINE Ads
Facebook Ads
Instagram Ads
Google Ads
YouTube Ads
Twitter Ads
TikTok Ads
Website & Landing Pages
SEO ( Search Engine Optimization )
Content Marketing
Email & SMS Marketing
Influencer
Video Ads
Chatbot Services
Submit
Nipa Digital Marketing Add Line
Digital Marketing

ตามติดอารมณ์ความรู้สึกลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ ด้วย Sentiment Analysis Tool

Homepage
Articles
Digital Marketing
ตามติดอารมณ์ความรู้สึกลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ ด้วย Sentiment Analysis Tool
ตามติดอารมณ์ความรู้สึกลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ ด้วย Sentiment Analysis Tool

Sentiment Analysis เครื่องมือการตลาดที่ธุรกิจต้องรู้จัก


Sentiment Analysis คือ กระบวนการวิเคราะห์อารมณ์หรือความรู้สึก ที่จะประเมินภาษาเขียนและภาษาพูดเพื่อจะตัดสินว่าการแสดงออกทางความคิดนั้นเป็นไปในเชิงบวก เชิงลบ หรือกลางๆ เพื่อมาเป็นตัวชี้วัดว่าลูกค้ารู้สึกอย่างไรกับประสบการณ์ที่แบรนด์ได้สร้างขึ้นในแต่ละครั้ง


Sentiment Analysis ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) โดยจะอาศัยการทำงานของ AI เข้ามาตรวจจับข้อความบนแพลตฟอร์มต่างๆ แบ่งส่วนเป็นประโยค วลี และคำ จากนั้นจะดำเนินการให้คะแนนว่ามีความหมายในเชิงบวก หรือลบ โดยใช้เลข 0 และ 1 (Binary Numeral System) เพื่อประเมินความรู้สึกของผู้บริโภค และยังสามารถระบุช่วงเวลาที่ต้องการเก็บข้อมูลได้อีกด้วย เช่น แบรนด์มีการเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ เมื่อผ่านไป 3 เดือนหลังจากนั้น ทีมการตลาดสามารถระบุช่วงเวลา 3 เดือนตั้งแต่ปล่อยสินค้าตัวใหม่ จนถึงปัจจุบัน เพื่อทำการเก็บข้อมูล ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าตัวใหม่ได้



Nipa Digital Marketing Image Content
  1. แบบสอบถาม
    แบบสอบถามถือเป็นแหล่งข้อมูลความคิดเห็นที่แบรนด์จะได้รับจากผู้บริโภคโดยตรง โดยแบรนด์สามารถตั้งคำถามเพื่อกำหนดแนวทาง และวางขอบเขตของเรื่องที่ต้องการรู้ได้อย่างตรงจุด แต่กระนั้นก็ไม่ควรที่จะใช้คำถามปลายปิดมากเกินไป จนคำตอบถูกจำกัดแค่เพียง ใช่ หรือไม่ใช่ ให้เน้นไปที่การออกแบบแบบสอบถามโดยใช้คำถามปลายเปิด จะได้รับข้อมูลความคิดเห็นที่กว้างกว่ามาก

  2. รีวิว
    จากการศึกษาพบว่ากว่า 95% ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าใดๆ ก็ตาม ผู้บริโภคจะต้องอ่านข้อมูลรีวิวจากผู้ใช้จริงท่านอื่นๆ ก่อนทุกครั้ง นั่นหมายถึงข้อมูลรีวิวในแต่ละข้อความมีผลเป็นอย่างมากต่อยอดขายของแบรนด์ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ได้ผลตอบรับหรือรีวิวที่ดี การวิเคราะห์รีวิวที่มีผู้บริโภคเต็มใจจะแชร์ไว้ จะทำให้ได้ความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา มาจากประสบการณ์การใช้จริง และเป็นข้อมูลเชิงลึก ซึ่งพร้อมที่จะนำมาต่อยอดกับการพัฒนาสินค้าและบริการได้โดยตรง

  3. ข้อความบน Social Media หรือข้อความบนเว็บไซต์ เว็บบล็อก 
    อีกหนึ่งแหล่งข้อมูลซึ่งถือว่าเป็น Big Data ขนาดใหญ่ ที่ผู้บริโภคต่างพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลด้วยความเต็มใจ มีตั้งแต่ข้อมูลความคิดเห็นแบบผิวเผิน ไปจนถึงข้อมูลเชิงลึกที่มีรายละเอียดจัดเต็ม แต่การวิเคราะห์ความคิดเห็นจากช่องทางนี้มีข้อควรระวังว่าจะได้ข้อมูลความคิดเห็นที่เป็นบวกสุดโต่ง หรือเป็นลบสุดโต่งได้ ยิ่งไปกว่านั้นความคิดเห็นที่พ่วงกันมาจะมีแนวโน้มไปทางเดียวกัน ซึ่งมีอิทธิพลจากโพสต์หลักที่เป็นความคิดเห็นตั้งต้น

ความสำคัญของการทำ Sentiment Analysis


  • ทำให้แบรนด์ได้ข้อมูล Insight ที่สามารถนำไปปรับปรุงกลยุทธ์ทางธุรกิจ 
  • ช่วยให้แบรนด์ได้รับข้อมูลเพื่อนำพัฒนาสินค้า และบริการให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
  • ฝึกอบรมพนักงานขาย พนักงานให้บริการลูกค้า
  • สร้างแคมเปญทางการตลาดใหม่ โปรโมชันใหม่ๆ ให้อยู่ในความสนใจของลูกค้าโดยตรง


ตัวอย่าง Case Study จากแบรนด์ดังที่มีการทำ Sentiment Analysis


แบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Procter & Gamble หรือที่รู้จักกันในชื่อ P&G เคยปล่อยแคมเปญของแบรนด์ Gillette ที่ชื่อว่า “The Best A Man Can Get” และได้รับความคิดเห็นทั้งเชิงบวก และเชิงลบ ทำให้ทีมการตลาดมีความกังวลกับผลตอบรับเป็นอย่างมาก แต่หลังจากได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก Twitter จำนวนกว่าพันทวิต และเมื่อผ่านการทำ Sentiment Analysis แล้วกลับพบว่าผลตอบรับจากผู้บริโภคเป็นไปในทางบวกมากกว่า ก็ถือว่าน่าโล่งใจสำหรับแบรนด์ไป


PROMOTION FOR YOU


Related Articles
Digital Marketing
โปรโมทโพสแบบไหน Content อะไรที่ควร Boost?

Digital Marketing
7 กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย ช่วงคริสมาสต์ - ปีใหม่!

Digital Marketing
NIPA ‘Work from home’ อย่างไร เพื่อให้คุณได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

Digital Marketing
ผู้ประกอบการเตรียมเฮ Social Media โตได้ใน AEC

View all

Get More Detail
Interested Services
Please Select Services