เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 19.00 น.
แพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียยอดนิยมอย่าง “Facbook” ยังคงเป็นช่องทางการทำตลาดออนไลน์ที่พุ่งแรงตลอดปี 2022 จากความสามารถในการใช้งานที่หลากหลาย การโฆษณาผ่าน “Facebook Ads” ด้วยลูกเล่นที่เพิ่มความน่าสนใจต่างๆ รวมไปถึงการอัพเดทฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ทั้งสนุก ทันกระแส และตอบโจทย์ผู้คนบนโลกออนไลน์ได้เป็นอย่างดี เหล่านี้เป็นเหตุให้องค์กรธุรกิจมากมาย ต่างยังคงให้ความสำคัญกับ Facebook Ads อย่างไม่เสื่อมคลาย
อย่างไรก็ตาม การตั้งค่า Facebook Ads เพื่อให้โฆษณาสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงหรือสามารถกระตุ้นยอดขายของแบรนด์ธุรกิจให้สุดปังได้นั้น เราจำเป็นต้องรู้จักคำศัพท์หรือตัววัด (Metrix) ต่างๆ เสียก่อน แล้วนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสมต่อไป
ในวันนี้ NIPA เลยอยากชวนผู้ประกอบธุรกิจหรือนักการตลาดมือใหม่ พร้อมแนะนำว่าเมทริกซ์ตัวไหนที่ควรโฟกัส เพื่อให้การทำตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อไป
พร้อมแนะนำว่าเมทริกซ์ตัวไหนที่ควรโฟกัส เพื่อให้การทำตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อไป
คือ จำนวนครั้งในการปล่อยโฆษณา Ads Facebook โดยผู้ใช้งานแต่ละคน สามารถมองเห็นโฆษณาได้มากกว่า 1 ครั้ง ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือ Impression เป็นตัวบ่งบอกว่า มีคนเห็นโฆษณาของเรามากน้อยแค่ไหน
คือ จำนวนครั้งที่คนจะเห็นคอนเทนต์นั้นๆ ซึ่งจะคิดออกมาเป็นค่าเฉลี่ย โดยสูตรการคิดหาค่า Frequency คือ จำนวนการแสดงผลโฆษณา (Impression) / จำนวนคนเห็นโฆษณา (Reach)
(ยกตัวอย่าง เช่น โพสต์นี้มีการปล่อยโฆษณา 200,000 ครั้ง และมีจำนวนผู้เห็นโพสต์ 20,000 คน ค่า Frequency จะเท่ากับ 200,000/20,000 = 1.0 ครั้งนั่นเอง)
คือ อัตราการคลิกลิงก์จากการลงโฆษณา เทียบกับจำนวนครั้งที่ปล่อยโฆษณา เป็นเมทริกซ์ที่ใช้วัดว่า ผู้ใช้งานคลิกชมเว็บไซต์ของธุรกิจในส่วนไหนบ้าง หรือมีจุดหมายปลายทางของการเยี่ยมชมเว็บไซต์อย่างไร
สูตรการคิด CTR% = (จำนวนคลิกลิงก์ (Link Click) / จำนวนครั้งในการปล่อยโฆษณา (Impression)) *100
คือ ค่าใช้จ่ายต่อการคลิกโฆษณา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ เป็นการคิดต้นทุนต่อจำนวนการแสดงผลโฆษณา 1,000 ครั้ง มีวิธีคิดค่า CPM คือ (งบประมาณที่ใช้ไป / จำนวนครั้งในการปล่อยโฆษณา (impression)) x 1,000
เป็นการคิดต้นทุนต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เป็นตัวชี้วัดที่บอกผลลัพธ์ของการยิงโฆษณา Facebook ได้อย่างรอบด้าน ซึ่งสูตรในการคิด CPR = งบประมาณที่ใช้ไป / จำนวน Result ที่ได้ ตัวอย่างเช่น
**ตัวอย่าง**
Ads Facebook ตัวที่ 1 ใช้งบโฆษณา 15,000 บาท มี Result เข้ามา 10 ดังนั้น CPR = 15000/10 = 1,500
Ads Facebook ตัวที่ 2 ใช้งบโฆษณา 15,000 บาท มี Result เข้ามา 100 ดังนั้น CPR = 15000/10 = 150
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า Ads ตัวที่ 2 มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งธุรกิจควรปรับการตั้งค่า Ads ตัวที่ 1 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น หรืออาจเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
เป็นสัดส่วนของผู้ที่ตอบสนองต่อการโฆษณาตามเป้าหมายต่างๆ ตามที่ธุรกิจกำหนด เช่น ยอดผู้ซื้อจริงจากการเห็นโฆษณา ยอดผู้ติดตามที่เพิ่มขึ้น ยอดคนที่กดไลก์หรือกดแชร์โพสต์ หรือยอดคนที่คลิกโฆษณา เป็นต้น โดยการหาค่า CVR นิยมคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น โพสต์ Facebook ของธุรกิจ มีคนเห็น 5,000 คน มีคนกดไลก์ 1,000 ครั้ง ค่า CVR = 1,000 x 100/5,000 = 20%
เป็นคะแนนภาพรวมของการลงโฆษณา คำนวนจากปัจจัยต่างๆ เช่น ผลลัพธ์จากการลงโฆษณา การคลิกลิงก์ คลิกชมโฆษณา หรือการกดซ่อนโฆษณา เป็นต้น ซึ่งคะแนน Relevance Score สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น
และนี่เป็น 9 เมทริกซ์ของ Facebook Ads ที่นักการตลาดมือใหม่ควรโฟกัสในช่วงท้ายปี 2022 ไปจนถึงปี 2023 เพื่อให้การลง Facebook Ads สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ธุรกิจตั้งเป้าหมายไว้ได้อย่างมีคุณภาพ
สำหรับท่านที่กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านการทำตลาดออนไลน์ตัวจริง
หรือสนใจทำการโฆษณาบนแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดีย ที่มีผู้ใช้งานนับล้านๆ คนในปัจจุบัน
NIPA Digital Marketing Agency พร้อมตอบโจทย์ของทุกองค์กรธุรกิจ
ด้วยบุคลากรมืออาชีพ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมการันตีผลงานความสำเร็จมากมาย
ปรึกษาเราได้เลย!