Office Hour Mon - Fri 9.00 am - 7.00 pm
ไม่ว่าเราจะเข้าไปเสพสื่อแพลตฟอร์มไหน ก็ต้องเจอเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ช่วยรีวิวสินค้า โปรโมตให้แบรนด์ หรือช่วยแบรนด์ทำ Affiliate หรือที่เรียกว่าการตลาดแบบนายหน้า ที่นอกจากจะได้รีวิวแล้ว ก็ยังสามารถติดตะกร้า ให้ผู้ที่สนใจในสินค้าชอปได้แบบ Seamless แบรนด์ได้ยอดขาย อินฟลูเอนเซอร์เองก็ได้เปอร์เซ็นต์จากการที่มีคนกดสั่งสินค้าด้วย นับว่าเป็นกลยุทธ์แบบ Win - Win จึงทำให้หลายแบรนด์ก็หันมาให้ความสำคัญกับการทำ Influencer marketing ที่เป็นกลยุทธ์ดั้งเดิม ซึ่งเริ่มนิยมตั้งแต่ปี 2017 จนในปีนี้ เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Influencer marketing ยังคงเป็นกลยุทธ์ที่ทรงประสิทธิภาพอยู่ถึงปัจจุบัน
Brand Background บริบทของแบรนด์ จุดยืนของแบรนด์เบื้องต้น
Target กลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร มีไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมแบบไหน ชอบเสพสื่ออะไร ชอบการสื่อสารแบบใด
Information Product รายละเอียดของสินค้าที่ต้องการให้อินฟลูเอนเซอร์รีวิวหรือช่วยโปรโมต
Key Message สิ่งที่อยากจะสื่อ หรือประโยคสั้นๆ ที่อยากให้ลูกค้าจดจำแบรนด์มากที่สุด
Working Plan วันเวลาของการส่งมอบงาน และวันที่ต้อง Publish
เราสามารถมองหาเครื่องมือสำหรับการหาอินฟลูเอนเซอร์ มาช่วยในการทำ Influencer marekting ได้ ช่วยในการประหยัดเวลา และช่วยให้เราเลือกจ้างอินฟลูเอนเซอร์ได้เหมาะกับแบรนด์มากขึ้น ซึ่งวันนี้ Nipa Agency ขอแนะนำเครื่องมือที่ชื่อว่า Social listening tools เครื่องมือสอดส่องเสียงผู้บริโภค สามารถสืบ Feedback จากลูกค้าได้ทุกๆ แพลตฟอร์มชื่อดังอย่าง Facebook Instagram X (Twitter) Tiktok ฯลฯ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการ Tracking ในเชิง Influencer Marketing ได้ด้วย
Set Main Keyword เกี่ยวกับชื่อช่อง ชื่อเพจ หรือชื่ออินฟลูเอนเซอร์คนนั้นๆ รวมถึงการติดแฮชแท็กต่างๆ ด้วย เช่น เมอา ไอซ์พาดี้ คิวเทโอปป้า เป็นต้น เพื่อวัดความนิยม และการกล่าวถึงบนโลกโซเชียล
Set Main Keyword เกี่ยวกับชื่อรายการที่อินฟลูเอนเซอร์นำเสนอผ่านแพลตฟอร์ม เช่น สะบัดแปรง (จากช่อง Nutnisamanee) ลอนดอนมีเรื่องเล่า (จากช่อง PEACHIII) เพื่อวัดว่าคอนเทนต์เป็นที่นิยมหรือไม่ มี Sentiment เป็นอย่างไรบ้าง
Set Main Keyword เกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น #แม่น้องบอง เพื่อส่องข้อมูลความนิยมของคุณแจ็คกี้ ชาเคอลีน ว่ามีการกล่าวถึงในเชิงไหน หรือ #ทหารมีไว้ทำไม แฮชแท็กประเด็นดราม่าช่อง Pigkaploy ที่พุ่งติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่ง เนื่องจากเปิดชื่อคลิป และเนื้อหาด้วยประเด็นละเอียดอ่อน ทำให้เกิดเป็นกระแสเห็นต่างจากชาวเน็ต เป็นต้น ทั้งนี้ แบรนด์สามารถทราบข้อมูลส่วนนี้ย้อนหลัง จาก Social listening tools ได้เช่นกัน
Set Sub - Keyword นอกจากคีย์เวิร์ดหลักแล้ว ก็สามารถ Set Sub - Keyword เป็นคำอื่นๆ ได้ด้วย ซึ่งสามารถเป็นคำที่ Generic ได้ เช่น Main Keyword เป็นตู่ซาวติส และ Sub Keyword เป็นคำว่า ชอบ ระบบก็จะดึงข้อมูลมาให้ที่มีการกล่าวถึงคำว่า “ตู่ซาวติส” และมีคำว่า “ชอบ” อยู่ด้วย
วัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน ทำให้กลยุทธ์ในการวางคีย์เวิร์ดไม่ชัดเจนไปด้วย ทำให้ไม่ได้ข้อมูลเชิง Insight ที่แท้จริง
ไม่ควรใช้คำ Generic เช่น กางเกง เสื้อ มือถือ แปรงสีฟัน เป็น Main Keyword เพราะระบบจะกรองข้อมูลเป็นจำนวนมาก มาไว้ในถังข้อมูล
หากต้องการใช้ Keyword ที่ Genernic สามารถ Set เป็น Sub Keyword ได้
ไม่จำเป็นต้องระบุข้อมูลที่กว้าง หรือเยอะมากเกินไป ระบบอาจดึงข้อมูลที่ไม่จำเป็นมาให้เรา
ก่อนจะจ้าง influencer สักท่านหนึ่ง ก็ต้องอาศัยการสอดส่องการกล่าวถึงบนโลกออนไลน์เพื่อสืบความคิดเห็นจากชาวเน็ตเบื้องต้น ซึ่งต้องใช้ Social listening tools ช่วยเช็กกระแสของอินฟลูเอนเซอร์ท่านนั้นๆ ว่าเป็นไปในเชิงบวกหรือลบ เพื่อให้แบรนด์มั่นใจได้ว่า Influencer จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้แบรนด์ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด ส่งเสริมจุดประสงค์ของแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Awareness, Engagement หรือ Conversion ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากแบรนด์ไหนต้องการใช้ Influencer Marketing เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการทำการตลาด ให้ติดต่อ Nipa Agency เพราะเรามีครบทั้งเครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญในการช่วยเฟ้นหา Influencer ให้ตรงภาพลักษณ์แบรนด์ ตอบโจทย์ทุกแคมเปญ ตรงคาแรคเตอร์ที่ต้องการ และที่สำคัญ Budget ไม่บานปลายแน่นอน!