02-639-7878 ต่อ 990

เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 19.00 น.

ปิดหน้าต่างนี้
โฆษณาบน LINE
โฆษณาบน Facebook
โฆษณาบน Instagram
โฆษณาบน Google
โฆษณาบน YouTube
โฆษณาบน Twitter
โฆษณาบน TikTok
รับออกแบบเว็บไซต์ธุรกิจ
SEO ( Search Engine Optimization )
Content Marketing
การตลาดบน E-mail และ SMS
รับรีวิวสินค้าและบริการ
รับทำวิดีโอโฆษณา
โฆษณาบน Facebook Ads
บริการ ChatBot
ยืนยัน
Nipa Digital Marketing Add Line
Digital Marketing

ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ คืออะไร? ทำไมถึงดึงดูดหลายคน เริ่มต้นธุรกิจนี้

หน้าหลัก
บทความ
Digital Marketing
ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ คืออะไร? ทำไมถึงดึงดูดหลายคน เริ่มต้นธุรกิจนี้
ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ คืออะไร? ทำไมถึงดึงดูดหลายคน เริ่มต้นธุรกิจนี้

เจาะลึก อีคอมเมิร์ซ คืออะไร


          อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อกลางใน การซื้อ - ขายออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ หรือในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง

E-Commerce มีกี่ประเภท


E-Commerce มีการแบ่งประเภทหลายแบบ ซึ่งสามารถเจาะจงได้ 6 ประเภทใหญ่ ๆ ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้ 

  1. ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีก หรือ บีทูซี (B-to-C = Business to Consumer) คือ ผู้ซื้อปลีกซื้อสินค้าจากผู้ขายผ่านอินเทอร์เน็ต

  2. ธุรกิจกับธุรกิจ หรือ บีทูบี (B-to-B = Business to Business) คือ ผู้ประกอบการสองฝ่ายทำการติดต่อซื้อขายกัน โดยการขายในที่นี้เป็นการขายส่ง ซึ่งทำการสั่งซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตเช่น ธุรกิจ บริการพิมพ์ 3 มิติ ที่เน้นถึงการทำโมเดลแบบ B-to-B

  3. ธุรกิจกับรัฐบาล หรือ บีทูจี (B-to-G = Business to Government) คือ ธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ

  4. รัฐบาลกับรัฐบาล หรือ จีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ การติดต่อกันระหว่างหน่วยงานในรัฐบาล เป็นการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกระทรวง

  5. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค หรือ ซีทูซี (C-to-C = Consumer to Consumer) คือ การติดต่อซื้อขายระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง

  6. ภาครัฐกับประชาชน หรือ จีทูซี (G-to-C = Government to Consumer) คือ การให้บริการจากทางภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต

ธุรกิจ E-Commerce มีอะไรบ้าง


1. O2O Marketing

          ธุรกิจยุคดิจิทัลในรูปแบบ Online to Offline ซึ่งยังคงนำมาใช้ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในปี 2022 O2O Marketing เป็นการเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจมีช่องทางจำหน่ายสินค้าที่ครอบคลุมผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น แบรนด์ที่มีร้านค้าออฟไลน์จะมีความได้เปรียบด้านความน่าเชื่อถือ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าภายในร้านค้าออนไลน์ โดยที่สามารถสร้างยอดขายที่เพิ่มขึ้นได้มากกว่าเท่าตัวในการตลาดยุคใหม่


2. Direct to Consumer (D2C)

          ยังคงเป็นกระแสหลักของตลาด E-commerce ปี 2022 ผลจากการเติบโตของเทคโนโลยี ทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น ตัดคนกลางออกไปทำให้ได้รับประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นทั้งผู้บริโภคที่มีโอกาสได้ของดีราคาถูกลงและแบรนด์ที่มีโอกาสลดต้นทุนเพิ่มกำไรไปพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้นได้


3. Crypto Currency / โลกเสมือน / Metaverse

          เป็นโอกาสที่ควรลงทุนเรียนรู้ให้เข้าใจในปี 2022 นี้ ความเห็นส่วนตัวคิดว่าคงใช้เวลาไม่นานที่เรื่องราวเหล่านี้จะกลายเป็นกระแสหลัก โลกเสมือนของ Meta (Facebook เดิม) ก็มีโอกาสสูงมากที่จะประสบความสำเร็จเนื่องจากผู้ใช้งาน Facebook เดิมก็เกือบครึ่งนึงของประชากรโลก อีกทั้งยังมีความเก่งในการสร้าง Community และ Network ดังนั้นสิ่งสำคัญของ SME ในปี 2022 คือลงทุนกับความรู้โลกแห่งอนาคต

ข้อจำกัดในการใช้ E-Commerce


  1. ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบน Internet ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟัง หรืออ่าน เพื่อเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ได้ การส่งข้อมูลจึงต้องมีการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน เพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าได้รับความปลอดภัยสูงสุด

  2. ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ที่จะทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยง สำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการชำระเงินยังต้องผ่านธนาคารที่เป็นของต่างประเทศ

  3. ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ไม่มั่นใจว่าจะมีผู้นำหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือไม่

  4. ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดียวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ มีความสามารถในการที่จะจ่ายสินค้าและบริการหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบ Internet จะมีผลถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

  5. E-Commerce ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภค และการปฏิบัติงานของภาครัฐบาล ทำให้รัฐบาลอาจเข้ามากำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ขายที่ใช้บริการ E-Commerce รวมทั้งให้ความสนใจในการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาปัจจัยที่จะเพิ่มความสะดวกทางด้านโทรคมนาคมสื่อสาร

  6. ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำสำเนา หรือดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ง่ายกว่าเอกสารที่เป็น กระดาษ จึงต้องจัดการระบบการรักษาความปลอดภัยในการอ้างสิทธิ์ให้ดีพอ

  7. ปัญหาที่เกิดกับงานด้านกฎหมายและลายเซ็น ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะกำกับดูแลการทำนิติกรรม การทำการซื้อขายผ่านทางการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


          นักการตลาดอาจต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจและพยายามศึกษา Shopper Journey อย่างจริงจัง นอกจากการมุ่งโกยความสนใจของคนต่อสินค้า เพราะปัจจุบันผู้ขาย ในสนาม E-Commerce เพิ่มขึ้นอย่างมาก และไม่ใช้ทุกเส้นทางการตัดสินใจซื้อที่คุ้มค่าต่อแบรนด์ปัจจุบันการทำ Remarketing ผ่านเครื่องมือโฆษณาดิจิทัล เช่น Programmatic Advertising ผ่านแพลตฟอร์มใหญ่ๆ ที่มี ก็นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่นักการตลาดควรลอง


          สนใจปรึกษาด้านการทำเว็บไซต์ E-commerce ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย




ส่วนลดพิเศษ คลิกเลย👇


บทความที่เกี่ยวข้อง
Digital Marketing
เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง….จุดที่เราจับมือถือ… มากกว่าจับเม้าส์!!!

Digital Marketing
Halloween @ NIPA กิจกรรมแต่งหลอนมามีรางวัล!

Digital Marketing
โฆษณาบน Social คืออะไร ?

Digital Marketing
Promote Post ด้วย 8 คำถาม ให้เจาะกลุ่มเป้าหมาย

View all

รับคำปรึกษาฟรี!
บริการที่น่าสนใจ
บริการของคุณ